[รีวิวตามประสา] Rocketman : ความอัดอั้นของผู้ไม่เคยถูกรัก

การมาของ Rocketman หนังซึ่งดัดแปลงจากชีวประวัติของนักร้องดัง เอลตัน จอห์น ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกนำไปเทียบกับหนังชีวประวัติของเฟรดดี้ เมอคิวรี่ และวง Queen อย่าง Bohemian Rhapsody ที่ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และรางวัลไปเมื่อปีก่อน ถึงแม้ทั้งสองเรื่องจะเป็นหนังเกี่ยวกับบุคคลชื่อดังในแวดวงดนตรี และมีหลายประเด็นที่ถูกพูดถึงในหนังคล้ายๆ กัน แต่โดยรวมแล้วหนังทั้งสองเรื่องถือว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะลักษณะการเล่าเรื่อง ซึ่ง Bohemian Rhapsody ใช้วิธีการเล่าเรื่องตามแบบฉบับของหนังชีวประวัติทั่วๆ ไป ต่างจาก Rocketman ที่ฉีกแนวด้วยการเล่าเรื่องไล่เรียงตามช่วงเวลาผสมกับความเป็นแฟนตาซีและหนังเพลงเข้าไปเพื่อสื่อถึงอารมณ์ของตัวละครเอกในช่วงเวลาหรือเหตุการณ์นั้นๆ ราวกับว่าเป็นการ "พูดเปิดอก" เรื่องราวต่างๆ ของตัวเอลตัน จอห์นเองให้แก่ผู้ฟัง(ซึ่งก็คือคนดูด้วย) ตามฉากเปิดของเรื่อง หนังเล่าเรื่องราวของเอลตัน จอห์น ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่ยังใช้ชื่อเดิมว่า เรจินัลด์ ดไวท์ เด็กหนุ่มขี้อายที่ค้นพบพรสวรรค์ด้านการเล่นเปียโนของตัวเอง , ช่วงวัยหนุ่มที่พยายามดิ้นรนจากการเป็นนักดนตรีแบ็คอัพ สู่การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลเพื่อทิ้งตัวตนในอดีต แล้วผันตัวมาเป็นนักนักร้อง,นักแต่งเพลงร่วมกับ เบอร์นี ทอพิน นักแต่งเนื้อเพลงซึ่งเป็นทั้งเพื่อนซี่และเพื่อนร่วมงานคู่บุญ และช่วงเวลาที่รุ่งสุดขีด นำพาชีวิตของเขาสู่วังวนสุรา ยาเสพติด จนทุกอย่างเริ่มดำดิ่งสู่ขาลง แม้ทั้งสามช่วงเวลาจะมีเหตุการณ์และอารมณ์ที่ค่อนข้างแตกต่างกันไป แต่อารมณ์หนึ่งที่แฝงอยู่ในทุกช่วงเวลาและค่อนข้างที่จะชัดเจนกว่าอารมณ์อื่นๆ คือความรู้สึกขมขื่นของตัวเอลตัน จอห์น ที่เกิดจากการไม่เคยได้รับ "ความรัก" … Continue reading [รีวิวตามประสา] Rocketman : ความอัดอั้นของผู้ไม่เคยถูกรัก

[รีวิวตามประสา] Fighting with My Family : คนแปลกแยก วิ่งตามฝัน

ใครๆ ต่างก็มีความฝัน.. เช่นเดียวกับ ซารายา เด็กสาวชาวอังกฤษที่เติบโตในครอบครัวนักมวยปล้ำ และถูกดันเข้าสู่วงการตั้งแต่วัยเยาว์ไปพร้อมๆ กับแซค พี่ชายของเธอ แม้เป็นการเริ่มต้นแบบที่เธอไม่ค่อยเต็มใจเท่าไหร่นัก แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป มวยปล้ำก็ค่อยๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเธอจนแยกไม่ออกไปเสียแล้ว ซึ่งก็ทำให้เธอค้นพบความฝันที่ค้นหามานานเสียที คือฝันที่จะได้เป็นนักมวยปล้ำผู้มีชื่อเสียงในอนาคตอย่างที่ครอบครัวหวังเอาไว้ ร่วมกับพี่ชายของเธอ จนในที่สุด ก็ถึงวันที่โอกาสทองวิ่งเข้ามาหาทั้งคู่ หลังจากรอคอยมาแสนนาน เมื่อทาง WWE สังกัดมวยปล้ำชื่อดัง เรียกตัวให้ทั้งสองพี่น้องได้เข้าไปโชว์ความสามารถเพื่อคัดตัวเข้าสังกัด ปลุกความหวังให้กับทั้งครอบครัวว่าจะได้พ้นจากชีวิตอัตคัด ไปสู่ชีวิตที่มั่งมีไปด้วยชื่อเสียงเงินทองของทั้งสองพี่น้องเสียที ทั้งซารายา (ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า เพจ เพราะชื่อซ้ำ) และแซคต่างก็มั่นใจในฝีมือของตัวเอง ด้วยความที่คลุกคลีอยู่กับมวยปล้ำมาอย่างยาวนาน จนทุกอย่างดูเหมือนจะไปได้สวย แต่แล้วเมื่อถึงวันคัดตัว แม้เพจจะผ่านการคัดตัวเพื่อเข้าไปฝึกต่ออย่างที่ฝันเอาไว้ แต่ความฝันที่ว่าก็เหมือนแตกสลายหายไปครึ่ง เพราะพี่ชายของเธอไม่ผ่านการคัดตัวเข้ามาด้วย.. ตัวหนังมาพร้อมกับแนวดราม่า Coming-Age ที่พูดถึงประเด็นของครอบครัว และคนแปลกแยกในสายตาของคนในสังคมเป็นหลัก แม้หนังจะเดินเรื่องตามสูตรสำเร็จของหนังแนวนี้แทบจะทุกอย่าง แต่สิ่งที่ช่วยให้ตัวหนังยังคงมีความน่าสนใจคือปมของตัวละครต่างๆ ในเรื่องที่ทำให้ดูมีมิติและน่าเอาใจช่วยตามไปด้วย โดยเฉพาะตัวละครเอกอย่าง เพจ ที่นอกจากจะต้องต่อสู้แบกความฝันของทั้งครอบครัวเอาไว้เพียงลำพัง การที่ถูกมองว่าเป็น "ตัวประหลาด" มาโดยตลอดแล้วไม่สามารถระบายเรื่องต่างๆ ให้ใครฟังได้ (รวมไปถึงพี่ชายของเธอ) ก็ยิ่งทำให้เธอปิดกั้นตัวเองจากคนรอบตัวระหว่างการฝึก และท้อแท้มากขึ้นไปทุกที เช่นเดียวฝั่งแซคที่ยังคงรู้สึกผิดหวังอยู่ตลอดและไขว้เขวกับอนาคตของตัวเอง อีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจคือพูดถึงสังกัดมวยปล้ำ WWE … Continue reading [รีวิวตามประสา] Fighting with My Family : คนแปลกแยก วิ่งตามฝัน

[รีวิวตามประสา] Kusama Infinity : ความมุ่งมั่น ก้าวข้ามผ่านความเจ็บปวด

หนังสารคดีที่เล่าเรื่องราวในชีวิตของยาโยอิ คุซามะ หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ "คุณป้าลายจุด" ศิลปินหญิงชาวญี่ปุ่นแนวอาว็อง-การ์ด (ล้ำยุคสมัย) ผู้โด่งดังและประสบความสำเร็จไปทั่วโลกจากผลงานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ว่ากว่าเธอจะได้รับการยอมรับดังเช่นทุกวันนี้ เธอต้องผ่านหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก เริ่มจากชีวิตในวัยเด็กของเธอที่ญี่ปุ่น ซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับเธอจากขนบและแนวคิดทางสังคมที่ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือนเพื่อแต่งงานเท่านั้น รวมไปถึงบาดแลในใจจากปัญหาครอบครัวที่แตกแยก บีบคั้นให้เธอต้องหนีไปตายเอาดาบหน้าที่อเมริกาตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ถึงแม้ว่าเธอจะได้ลงมือสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามที่เธอตั้งใจเอาไว้ เธอก็ยังถูกมองเป็น "คนชายขอบ" ของที่นั่นอยู่ดี ในยุคที่ผู้ชายเป็นใหญ่ในสังคม และยังมีการเหยียดเชื้อชาติ จนทำให้เธอถูกกีดกันต่างๆ นานา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนไม่ได้รับการยอมรับอย่างที่ควรจะเป็นเสียที เอาจริงๆ พอเริ่มดูช่วงต้นเรื่องก็แอบกลัวอยู่เหมือนกันว่าหนังจะออกมาน่าเบื่อ เพราะตัวหนังเน้นไปที่การเล่าเรื่องราวแบบแทบจะเป็นเส้นตรงผ่านการพูดคุยกับบุคคลต่างๆ (รวมไปถึงตัวคุณยาโยอิเอง) โดยแทบจะไม่มีการตัดต่อเพื่อเร้าอารมณ์ หรือลงลึกไปในเหตุการณ์บางช่วงที่ดูน่าสนใจ แต่เมื่อดำเนินเรื่องไปซักพักแล้วจึงพบว่า การดำเนินเรื่องง่ายๆ เน้นการเล่าเฉพาะเรื่องราวแบบนี้แหละถือว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพให้แก่คุณยาโยอิจากทีมผู้สร้างโดยที่ไม่พยายามชี้นำคนดูใดๆ ทั้งสิ้น ลำพังแค่เรื่องราวในชีวิตของคุณยาโยอิเองก็มีสีสันและสร้างความเจ็บปวดได้มากพอที่จะสะกดคนดูให้ร่วมติดตามเรื่องราวต่อไปได้เรื่อยๆ อยู่แล้ว ผ่านแนวคิดทางสังคมตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงยุค 90 ที่กลายเป็นแรงกดทับให้เธอต้องดิ้นรนต่อสู้ด้วยวิธีต่างๆ จนถูกสังคมมองเป็นผู้หญิงหัวขบถ , เผยให้เห็นมุมมองทางความคิดหลายๆ อย่างของเธอที่ถือว่า "มาก่อนกาล" สำหรับยุคนั้น รวมไปถึงความมุ่งมั่นกล้าคิดกล้าทำสิ่งต่างๆ ให้ถึงจุดหมายแม้จะต้องผิดหวังไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง จนถึงขั้นคิดปลิดชีพตัวเองและอาการป่วยทางจิตแย่ลงเรื่อยๆ แล้วก็ตาม โดยสรุปแล้ว Kusama Infinity เป็นหนังสารคดีที่คนดูไม่จำเป็นต้องรู้จักคุณยาโยอิ … Continue reading [รีวิวตามประสา] Kusama Infinity : ความมุ่งมั่น ก้าวข้ามผ่านความเจ็บปวด

[รีวิวตามประสา] พี่นาค : ภารกิจบวชหลอนปนฮา ท้าอาถรรพ์ผีนาค

เรื่องราวของ โหน่ง (ออกัส วชิรวิชญ์) หนุ่มหล่อวัยเบญจเพศกำลังดวงตกเพราะเพิ่งโดนแฟนทิ้งและว่างงาน ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เฉียดตายพร้อมกับ บอลลูน (เอม ตามใจตุ๊ด) และ เฟิร์ส (เจมส์ ภูริพรรธน์) ก๊วนกะเทยเพื่อนเก่าของโหน่ง จนได้จับพลัดจับผลูมาบวชพร้อมกันที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งบอลลูนเคยมาบนบานให้ถูกหวยเอาไว้กับ "ศาลพี่นาค" แต่ทั้งสามหารู้ไม่ว่าวัดแห่งนี้มีอาถรรพ์สุดสยองซ่อนเอาไว้อยู่ นั่นคือหากใครมาบวชนาคยังวัดแห่งนี้ จะต้องมีอันเป็นไปก่อนที่จะได้ห่มผ้าเหลืองเป็นพระทุกราย ซึ่งนอกจากจะต้องเอาชีวิตรอดให้ได้จากการถูกตามหลอกหลอน ทั้งสามคนยังต้องตามสืบให้ได้ก่อนที่วันบวชจะมาถึงว่าเหตุใดผีปริศนาตนนี้จึงคอยตามหลอกตามฆ่าทุกคนที่คิดจะบวชเป็นพระที่วัดแห่งนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หนังผีเรื่องนี้ของค่ายไฟว์สตาร์ มาพร้อมกับแนวหลอนปนฮาเช่นเดียวกับ มอญซ่อนผี ผลงานเรื่องก่อนหน้าของผู้กำกับไมค์ ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ แต่ต่างกันตรงที่พี่นาคไม่ได้เดินเรื่องแบบซับซ้อนซ่อนเงื่อนเท่ามอญซ่อนผี แล้วเปลี่ยนมาเดินเรื่องแบบแทบจะตามสูตรสำเร็จของหนังผีไทยโดยทั่วไปให้ดูง่ายขึ้น พร้อมกับแทรกปริศนาสับขาหลอกให้พอได้ลุ้นเป็นน้ำจิ้ม ฉากสยองในหนังถือว่าใส่เข้ามาค่อนข้างเยอะพอสมควร แม้จะเน้นหนักไปทางผีตุ้งแช่เป็นหลัก แต่โปรดักชั่นและการถ่ายภาพของหนังก็ยังสามารถสร้างบรรยากาศหลอนๆ ได้ค่อนข้างดีในหลายๆ ฉาก อย่างไรก็ดีส่วนที่เด่นกว่ากลับกลายเป็นฉากฮาๆ ที่ยัดเข้ามาเยอะไม่แพ้กันเสียอย่างนั้น ซึ่งก็มีทั้งมุกฮามุกแป้กปนๆ กันไป และหลายๆ ครั้งที่มุกฮาแต่โดนยัดเข้ามาแบบผิดที่ผิดทางจนเปลี่ยนอารมณ์ของหนังไปเลยก็มี อีกส่วนที่ดีนอกเหนือจากกงานโปรดักชั่นและการถ่ายภาพคือการนำตำนานเรื่องการบวชนาคมาขมวดเป็นปมของหนังได้อย่างน่าสนใจ รวมไปถึงความตั้งใจที่จะนำเสนอข้อคิดต่างๆ ทั้งเรื่องการบวช หรือเรื่องสถาบันครอบครัว ผ่านตัวละครต่างๆ ของเรื่องซึ่งมีค่อนข้างหลากหลายมุม แต่ปัญหาใหญ่ของเรื่องกลับกลายเป็นตัวของบทหนังเองที่หลายๆ ฉากไม่สามารถผสานข้อคิดต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกับบทสนทนาหรือบทบาทของตัวละครได้อย่างกลมกลืนเท่าไหร่นัก ปมต่างๆ ที่หนังสร้างไว้จริงๆ แล้วมีอยู่ค่อนข้างเยอะและดูน่าสนใจ แต่ส่วนใหญ่โดนตัดจบไปแบบดื้อๆ หรือไม่ก็ปูเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปมต่างๆ … Continue reading [รีวิวตามประสา] พี่นาค : ภารกิจบวชหลอนปนฮา ท้าอาถรรพ์ผีนาค

[รีวิวตามประสา] Hurry Go Round : ความทรงจำจากคนข้างหลัง

หนังสารคดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีการจากไปของ ฮิเดโตะ มัตสึโมโตะ หรือ ฮิเดะ มือกีต้าร์, นักร้องระดับตำนานชาวญี่ปุ่น ผู้เป็นที่รักของแฟนๆ ชาวไทยจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ได้เดินเรื่องผ่านการนำฟุตเทจหรือภาพเก่าๆ ที่เกาะติดชีวิตของฮิเดะมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวตรงๆ แต่เป็นการเดินเรื่องผ่านตัวละครอย่างนักแสดงหนุ่มยาโมโตะ ยูมะ (ที่หลายคนอาจจะพอคุ้นหน้าจากหนังเรื่อง Kimi no Suizo wo Tabetai หรือชื่อไทยว่า ตับอ่อนเธอนั้น ขอฉันเถอะนะ) ในฐานะชายที่รู้จักวง X Japan และฮิเดะเพียงผิวเผิน ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของฮิเดะ โดยมีจุดเริ่มต้นที่หลุมศพของฮิเดะ, บ้านเกิดของฮิเดะซึ่งมีร้านโปรดที่เขาชอบมากินอยู่เป็นประจำ, ไปพบกับน้องชายของฮิเดะซึ่งเป็นผู้จัดการส่วนตัว และเริ่มต้นขมวดไปสู่ปมหลักของหนังนั่นก็คือ "สาเหตุการตายของฮิเดะนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากการฆ่าตัวตาย หรืออุบัติเหตุกันแน่?" ซึ่งจะพาคนดูบินไปยังลอสแอนเจลิส สถานที่ที่ฮิเดะมาทำการอัดเพลงยาวนานถึง 3 เดือน และเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่อยู่ในเพลง Hurry Go Round เพลงสุดท้ายของฮิเดะที่ยังไม่เสร็จดีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แทรกไปพร้อมๆ กับฟุตเทจชีวิตการทำงานของฮิเดะในฐานะศิลปินเดี่ยวที่ยังคงรุ่งโรจน์อยู่ โดยรวมแล้วอารมณ์ของหนังเป็นดั่งคู่มือวิชา "Hideto 101" ก็ไม่ปาน โดยมีนักแสดงหนุ่มยูมะซึ่งไม่ประสีประสาเรื่องราวของฮิเดะ(เหมือนเป็นตัวแทนของคนดูที่ไม่ได้เป็นแฟนของฮิเดะมาตั้งแต่ต้น) เรียนรู้เรื่องราวไปพร้อมๆ กับคนดู … Continue reading [รีวิวตามประสา] Hurry Go Round : ความทรงจำจากคนข้างหลัง

[รีวิวตามประสา] แช่ง : 3 แค้นต้องสาป

แช่ง คือหนังหลอนรวมตอนสั้นสามตอนย่อย ที่มีธีมเกี่ยวข้องกับ "คำสาปแช่ง" ที่เกิดจากแรงอาฆาตเหมือนกัน แม้หน้าหนังจะดูค่อนข้างธรรมดา ไม่ต่างจากหนังแนวเดียวกันเรื่องอื่นๆ ซักเท่าไหร่ แต่พล็อตเรื่องของแต่ละตอนถือว่าทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว ตอนที่ 1 : วิปลาส บาทหลวงโจเซฟ (เดวิด อัศวนนท์) เดินทางไปยังหมู่บ้านห่างไกลแห่งหนึ่งเพื่อสืบเรื่องราวของเพื่อนบาทหลวงที่เสียชีวิตอย่างปริศนา โดยมีแผ่นเสียงต้องคำสาป ซึ่งบันทึกการแสดงที่ทำให้ผู้ชมในวันนั้นล้มตายกันอย่างลึกลับเป็นเบาะแส ถือเป็นตอนที่ดีและน่าจะหลอนที่สุดในทั้งสามตอนเลยก็ว่าได้ โดยการเดินเรื่องแบบสืบสวน ค่อยๆ เปิดปมต่างๆ ออกมา ไปพร้อมๆ กับบรรยากาศบ้านป่าเมืองเถื่อนแบบย้อนยุคที่ทำออกมาได้ชวนหลอน,ไม่น่าไว้วางใจอยู่พอสมควร รวมไปถึงบทหนังที่แทรกการวิพากษ์สังคมในยุคสมัยนั้นและอาจเกี่ยวพันมาถึงยุคสมัยนี้อยู่บ้าง ทั้งเรื่องความเชื่อ, ผู้มีอำนาจ และการถูกยัดเยียดทางสังคม ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันมาบ้างจากหนังต่างประเทศหลายๆ เรื่อง ซึ่งหนังก็สื่อออกมาได้ค่อนข้างดี แต่ด้วยความที่พล็อตของหนังค่อนข้างใหญ่ และปมของหนังเกี่ยวข้องกับตัวละครค่อนข้างเยอะ ทำให้หนังไม่ได้เฉลยบางปมที่ยังค้างคา หรือหลายๆ ปมที่เฉลยออกมาก็ดูจะเป็นการเฉลยออกมาดื้อๆ เพราะยังปูรายละเอียดให้คนดูคล้อยตามได้ไม่มากพอ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเพราะเวลาของหนังที่มีค่อนข้างจำกัดด้วย ส่วนความหลอนของตอนนี้ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่งทั้งจากบรรยากาศและบทเพลงคำสาป ฉากผีตุ้งแช่มีให้เห็นนิดหน่อย การแสดงของคุณเดวิดถือว่าทำได้ดีตามมาตรฐานซึ่งตัวบทไม่ค่อยมีอะไรให้ได้โชว์ฝีมือการแสดงมากเท่าไหร่นัก ตอนที่ 2 : Tattoo เฟิร์น (กวาง เดอะเฟซ) สาวสวยผู้เปลี่ยวเหงา จำใจที่จะต้องหวนกลับมาหา เฟร็ดดี้ (ชิน ชินวุฒ) … Continue reading [รีวิวตามประสา] แช่ง : 3 แค้นต้องสาป

[รีวิวตามประสา] Green Book : Driving Dr.Shirley

หนังเจ้าของรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสาขาหนังเพลงหรือตลกจากเวทีลูกโลกทองคำที่เพิ่งรับกันไปหมาดๆ (2019) กับเรื่องราวการเดินทางร่วมกันของคนสองคนที่ต่างกันสุดขั้วอย่าง โทนี่ ลิป (วิกโก มอร์เทนเซ่น) ชายผิวขาวลูกครึ่งอิตาเลียน-อเมริกันมาดจิ๊กโก๋ที่เกิดว่างงานยาวอย่างกระทันหัน ได้รับการว่าจ้างจาก ดร. ดอน เชอร์ลีย์ (มาเฮอชาลา อาลี) นักเปียโนผิวสีมากพรสวรรค์ ให้มาเป็นคนขับรถพาทัวร์คอนเสิร์ตตามเมืองต่างๆ ลากยาวจนลงไปถึงทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา พร้อมกับช่วยเคลียร์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการเดินทาง นอกจากทั้งคู่จะต้องทำการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากทัศนคติที่ดูเหมือนจะต่างกันสิ้นเชิง ยังต้องมารับมือกับปัญหาการเหยียดผิวในยุค 60 ที่ทวีความหนักหน่วงขึ้นทุกครั้งที่ทั้งคู่ล่องลงไปทางใต้ของสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเพียงคู่มือแนะนำการเดินทางสำหรับคนผิวสีที่ชื่อว่า Green Book (ตามชื่อเรื่อง) คอยเป็นไกด์นำทางในยามฉุกเฉินเท่านั้น ฟังดูพล็อตหนังอาจจะไม่มีอะไรหวือหวามากเท่าไหร่นัก รวมไปถึงประเด็นผิวสีที่เราได้เห็นจากหนังเรื่องอื่นๆ จนแทบจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว แต่สิ่งที่ Green Book พิเศษกว่าเรื่องอื่นๆ ก็คือบุคลิกของตัวละครทั้งสองผิวสีที่ภาพลักษณ์ดูฉีกจากที่หนังเรื่องอื่นๆ เคยนำเสนอมา อย่างโทนี่ ลิป มาในมาดชายผิวขาวที่นิสัยหยาบกระด้าง, การศึกษาไม่สูง และทำงานไม่เป็นหลักแหล่ง แตกต่างจาก ดร. เชอร์ลีย์ ซึ่งเป็นชายผิวสีผู้มีความสุภาพมาดผู้ดี, การศึกษาสูง และเป็นนักเปียโนชื่อดังฐานะร่ำรวย จนทำให้ทั้งคู่กลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกเหยียดหยามจากกลุ่มสีผิวของตนเองไม่ต่างกันจากความที่ภาพลักษณ์ไม่เหมือนกับคนอื่นๆ ในสมัยนั้น รวมไปถึงสองนักแสดงนำของเรื่องที่ปล่อยฝีมือการแสดงออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งคู่จนกินกันไม่ลง ทั้งฝั่งวิกโก มอร์เทนเซ่น ที่สลัดลุคเท่ห์ๆ … Continue reading [รีวิวตามประสา] Green Book : Driving Dr.Shirley